ใช้สำหรับ
- ละลายน้ำเพื่อเป็นธาตุอาหารสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)
- ละลายน้ำเพื่อฉีดพ่นพืชโดยตรง โดยพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางใบและสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
อัตราการใช้ 0.5-1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร
ธาตุไนโตรเจน หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช ช่วยทำให้พืชตัวตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ช่วยเสริมใบและลำต้นให้มีสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องควบคุมการออกดอกออกผลของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
อาการของพืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน
- ใบมีสีเขียวจางแล้วเหลือง โดยเฉพาะใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของพืช ใบจะเหลืองผิดปกติจากใบล่างไปสู่ยอด
- ลำต้นจะผอม กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
- พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นสีเหลือง หรืออาจจะมีสีชมพูเจือปนด้วย
- ใบพืชที่มีสีเหลือง ปลายใบและขอบใบจะค่อย ๆ แห้งและลุกลามเข้ามาเรื่อย ๆ จนใบร่วงจากลำต้นก่อนกำหนด
- พืชจะไม่เติบโต หรือโตช้ามาก
- ผลรากหรือส่วนที่สะสมอาหารมีขนาดลดลง
ธาตุฟอสฟอรัส หน้าที่และความสำคัญต่อต้นพืช
- ช่วยให้ราดดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยช์ได้มากขึ้น
- ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต
- ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วนในการออกดอก และสร้างเมล็ดของพืช
- เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี
- ทำให้ลำต้นของพืชจำพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มง่าย
อาการของพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส
- พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็ง แต่เปราะและหักง่าย
- รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายลงในดินช้างกว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หรือบางครั้งอาจหลุดร่วงไป หรืออาจมีขนาดเล็ก หรือค่อนข้างจะสุกหรือแก่ช้ากว่าปกติ
- พืชจำพวกลำต้นอวบน้ำหรือลำต้นอ่อน ๆ จะล้มง่าย
- ใบแก่จะเปลี่ยนสีหรือพืชบางชนิดใบจะเป็นสีม่วง ใบมีลักษณะสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลำต้นจะเห็นเด่นชัด ทางด้านใต้ใบสำหรับฝั่งใบจะมีสีทึบเข้ม อาการจะเกิดขึ้นกับใบล่าง ๆ ของต้นขึ้นไปหายอด