ความรู้ทั่วไปและประโยชน์ในด้านต่างๆของคลอรีนผง
คลอรีนผงหรือ แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ (Calcium hypochlorite ,CaCl2O2) เป็นรูปแบบของคลอรีนที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ใช้สำหรับฆ่าเชื้อวัตถุดิบและฆ่าเชื้อน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น น้ำหล่อเย็น น้ำหลอมละลายวัตถุดิบที่ผ่านการแช่เยือกแข็ง (thawing) ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นผง และชนิดอัดเป็นเม็ด ตามความเข้มข้นของคลอรีนออกฤทธิ์ (active ingredient) ที่ 65, 70 และ 90% ทั้งนี้ นอกจากการใช้เพื่อการฆ่าเชื้อแล้ว Calcium hypochlorite ยังให้ผลดีคือ เมื่อเกลือแคลเซียม (calcium salt) รวมตัวกับเพกทิน (pectin) ในผนังเซลล์ของผักผลไม้ จะทำให้ผนังเซลล์ของผักและผลไม้แข็งแรงขึ้น และต้านทานโรคได้ดีขึ้นอีกด้วย
การออกฤทธิ์ของคลอรีน
คลอรีน มีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดส์ที่รุนแรง เมื่อละลายน้ำจะเกิดปฏิกิริยากับน้ำ ซึ่งไฮโปคลอไรต์ภายหลังละลายในน้ำแล้ว จะเกิดการแตกตัวและให้ hypochlorite ion (OCl-) และ hypochlorus acid (HOCl) ซึ่ง HOCl จะออกฤทธิ์ได้รุนแรงกว่า OCl- ประมาณ 80-200 เท่า จึงส่งผลทำให้เกิดการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้
- ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในน้ำ และสามารถทำให้พันธะทางเคมีในโมเลกุลของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์แตกออก และเกิดเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ละลายน้ำได้ จึงช่วยเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
- ใช้เป็นสารฟอกสี (bleahing agent) การออกฤทธิ์จะไปทำลายสารอินทรีย์ ที่ทำให้เกิดสี
- ช่วยในการตกตะกอนของสารแขวนลอยในน้ำ
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อของคลอรีน
- ค่าpH ของน้ำ โดยน้ำที่มีค่า pH ต่ำ (เป็นกรด) OCl- จะเปลี่ยนไปเป็น hypochlorus acid (HOCl) มากขึ้น และจะเปลี่ยนทั้งหมดที่ค่า pH ต่ำกว่า 5 ลงมา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คลอรีนจะออกฤทธิ์ได้ดีในช่วงค่า pH 6-7 และออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเมื่อค่า pH ของน้ำต่ำลง
- สิ่งสกปรก ได้แก่ สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ ที่มีอยู่ในน้ำ หรือบนพื้นผิวของพื้นผิวที่ต้องการฆ่าเชื้อ เช่น ดินที่ปนเปื้อนมากับผักผลไม้ โปรตีน เช่น เศษเนื้อ เลือด คาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล สารเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับคลอรีนก่อนได้เป็นสารประกอบคลอรีนที่มีฤทธิ์การฆ่าเชื้อลดลง
- ความเข้มข้นของคลอรีนที่ใช้ คลอรีนจะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ดี จะต้องใช้ให้ได้ปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสม
- อุณหภูมิ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของคลอรีนจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
[ข้อมูลเพิ่มเติม]
คลอรีนเป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคได้มากกว่า 99% และที่สำคัญคือ คลอรีนยังคงมีฤทธิ์คงเหลือเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้ต่อไปอีก
กล่าวคือ คลอรีนเป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคได้มากกว่า 99% รวมทั้งเชื้อ อี.โคไล (E.coli) และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ที่สำคัญคือมีฤทธิ์คงเหลือเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำต่อไปได้อีก โดยคลอรีนที่เติมลงไปจะละลายน้ำอยู่ในรูปของคลอรีนอิสระ (Residual Chlorine) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนในภายหลัง ทั้งนี้การฆ่าเชื้อโรคจะมีประสิทธิภาพจะต้องมีปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม
และที่สำคัญคือ คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อที่มีราคาไม่แพง ใช้ง่าย และการดูแลเก็บรักษาง่าย ใช้ได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ชุมขน และในครัวเรือนทั่วไป
วิธีการใช้คลอรีนผง
การใช้คลอรีนผงหรือคลอรีนเกล็ดสีขาว เวลาใช้ต้องน้ำมาละลายน้ำแล้วนำน้ำส่วนที่เป็นน้ำใส่ไปใช้งาน โดยมีขั้นตอนการละลายง่ายๆดังนี้
- นำผงปูนคลอรีน (คลอรีนผง) ผสมน้ำตามสัดส่วน แล้วคนให้เข้ากันเพื่อให้คลอรีนผงละลายน้ำให้ได้มากที่สุดด้วยภาชนะที่สะอาด
- ตั้งทิ้งไว้ให้ผงปูนตกตะกอน
- นำน้ำปูนคลอรีนส่วนที่เป็นน้ำใส ผสมในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้ตามสัดส่วน แล้วคนให้เข้ากัน โดยควบคุมทั้งปริมาณและระยะเวลา ตามรายละเอียดดังตารางด้านล่างนี้ หรือขอรับตารางอัตราส่วนการผสมเพิ่มเติมได้จากฝ่ายขายของบริษัทฯผู้จัดจำหน่าย
For Example 1:
ตารางปริมาณและระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ
ความเข้มข้นคลอรีน | คลอรีน AV 65% | ปริมาณน้ำที่ผสม | ระยะเวลาฆ่าเชื้อ | ประเภทการฆ่าเชื้อ |
50 ppm | 1/2 ช้อนชา | 20 ลิตร (1ถัง) | แช่ไว้ 30 นาที | ผัก ผลไม้ |
100 ppm | 1 ช้อนชา | 20 ลิตร (1ถัง) | แช่ไว้ 30 นาที | อาหารทะเล |
100 ppm | 1 ช้อนชา | 20 ลิตร (1ถัง) | ล้าง 2 นาที | ภาชนะ อุปกรณ์ |
100 ppm | 1 ช้อนชา | 20 ลิตร (1ถัง) | ใช้ทำความสะอาด | อาคารสถานที่ |
2 ppm | 1 ช้อนชา | 1,000 ลิตร (IBC) | ทิ้งไว้ 30 นาที | น้ำดื่ม น้ำใช้ |
2 ppm | 1/8 ช้อนชา | 160 ลิตร (โอ่งน้ำ) | ทิ้งไว้ 30 นาที | น้ำดื่ม น้ำใช้ |