แพคน้ำ 10%

Poly Aluminium Chloride 10%
  • แพคน้ำ 10% (25กก./ถัง)
  • แพคน้ำ 10% (200กก./ถัง)
  • แพคน้ำ 10% (1,000กก./ถัง)
  • แพคน้ำ 10% (รถแทงค์)

ข้อมูลทางเทคนิค

(PAC-Solution) – PAC เป็นสารเคมีคุณภาพสูงสำหรับการผลิตน้ำประปาและระบบบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เป็นสารช่วยตกตะกอนอีกชนิดหนึ่งที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย, PAC เป็นเกลืออลูมิเนียมที่มีสูตรทางเคมีคือ Al (OH) Cl เมื่อ 0<m>3n ซึ่งเป็นสารประเภทโพลีอนินทรีย์เกิดจากการรวมตัว โดยนิวเคลียสหลายตัว (โมเลกุลใหญ่) มีความเป็นเมสิดเกลือแรงและมีประจุไฟฟ้าบวกมีคุณสมบัติจับตัวสูง และมีเสถียรภาพมาก

รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

1.1 ชื่อทางการค้า PAC ซึ่งทางเคมี โพลีอลูมิเนียมคลอไรด์ สูตรทางเคมี Aln (OH)m Cl (3n-m)

1.2 การใช้ประโยชน์ PAC สามารถใช้ได้ในกิจกรรมทั่วๆไป ที่ต้องการตกตะกอนของสารผสมหรือสารแขวนลอยหรือสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการ แล้วที่ให้ตกตะกอนหรือกรองออกไป ลักษณะของกิจกรรมที่มีการนำสาร PAC ไปใช้งานมีดังนี้

1.2.1ผลิตน้ำประปา สำหรับใช้ในชุมชนเมือง หรืออุตสาหกรรม โดยใช้

– น้ำดิบจากแม่น้ำ

– น้ำบาดาล

– น้ำเสียจากอุตสาหกรรม

1.2.2 การนำสารที่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้กลับมา โดยการตกตะกอนจากน้ำเสียประเภทต่างๆ หรือการแยกสารแขวนลอยออกจากน้ำ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า PAC ในอุตสาหกรรมต่าง ๆแล้วดังนี้

– การผลิตน้ำประปาชุมชน

– การบำบัดน้ำเสีย

– อุตสาหกรรมกระดาษและเหยื่อกระดาษ

– อุตสาหกรรมเคมี

– อุตสาหกรรมอาหาร

1.3 ข้อดีของการใช้สาร PAC

    1. ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าการใช้สารส้ม
    2. ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการปรับ พีเอช
    3. การรวมตัวของฟล็อกได้เร็วกว่า และตกตะกอนที่เกิดขึ้นจะยึดตัวแน่น
    4. ความหนาแน่นของตะกอนสูงกว่า
    5. ใช้งานในช่วงพีเอชกว้างกว่าการใช้สารส้ม
    6. ปริมาณอลูมิเนียมตกค้างน้อยกว่าการใช้สารส้ม

1.4 ข้อจำกัดในการใช้สารส้มเป็นตัวตะกอน

    1. ความสามารถในการละลายน้ำสารส้มละลายน้ำค่อนข้างยาก ต้องมีเครื่องบดย่อยขนาดในการเตรียมสารส้มก่อน อีกทั้งความสามารถในการละลายค่อนข้างต่ำ หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ อาจต้องใช้เวลาละลายไม่ต่ำกว่า 1-2 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอ
    2. ช่วงพีเอชในการใช้งาน สารส้มสามารถตกตะกอนได้ดี ในช่วงพีเอชค่อนข้างแคบ 6.5-7.5 เท่านั้น ดังนั้นกรณีที่ความขุ่นในน้ำมีมากปริมาณสารส้มที่ใช้จะสูงตามไปด้วย วึ่งมีผลทำให้ค่าพีเอชของน้ำลดต่ำลง ดังนั้นต้องมีการปรับพีเอชของน้ำด้วยด่าง เช่น ปูนขาว หรือ โซเดียมไอดรอกไซด์ จะทำให้ค่าต้นทุนการบำบัดสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีในการปรับพีเอชหรือค่าใช้จ่ายในการกำจัดตะกอนที่เกิดขึ้น
    3. สารส้มต้องใช้โพลิเมอร์ช่วยในการทำตะกอน กรณีน้ำที่มีความขุ่นสูงมาก สารส้มทำให้เกิดตะกอนได้ แต่ไม่สามารถตกตะกอนได้ทันที ดังนั้นต้องมีการใช้สารโพลิเมอร์ช่วยในการตกตะกอน ซึ่งจะเป็นปัญหาในแง่เพิ่มต้นทุนการบำบัด และความยุ่งยากในการเตรียมโพลิเมอร์ซึ่งมีความสามารถในการละลายต่ำมาก
    4. ความสิ้นเปลืองด้านแรงงานและต้นทุนการบำบัด เนื่องจากสารส้มต้องมีเครื่องบดย่อยขนาดก่อนการละลาย อีกทั้งการละลายค่อนข้างยาก เป็นสาเหตุให้ต้องเสียเวลาและค่าไฟฟ้าในการเตรียมสารละลายสารส้มก่อน การใช้งานสูงมาก อีกทั้งสารส้มต้องใช้ปริมาณมาก ซึ่งต้องใช้ Dosing Pump ขนาดใหญ่ในการจ่ายสารเคมี ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า

related Product.

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

โซดาไฟเกล็ด 98%

แพคผง-จีน

เกลือล้างเรซิ่น 97.5%

สารส้มใส

สารส้มขุ่น

ปูนขาว

คลอรีนเม็ด 70% (40กก./ถัง)*พระอาทิตย์

คลอรีนผง 90% จีน

คลอรีนผง 65%

คลอรีนน้ำ 10%

กรดเกลือ 35%