ปุ๋ย “แคลเซียม ไนเตรท” สูตร 15-0-0 แคลเซียม (Ca) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์
หน้าที่หลักภายในพืชจึงเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของเนื้อเยื่อและเซลล์พืช
นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อีกด้วย
การดูดใช้แคลเซียมของพืชจะขึ้นกับอิออนตัวอื่นในสารละลาย โดยเฉพาะเมื่อมีไนเตรทจะทำให้ดูดใช้แคลเซียมได้ดีขึ้น
รูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ แคลเซียมอิออน (Ca2+) แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดคือ แคลเซียมไนเตรท
เนื่องจากละลายง่าย ราคาไม่แพง อีกทั้งยังให้ธาตุไนโตรเจนได้ด้วย ในปุ๋ยไนเตรท (Nitrate)
จะต้องถูกใช้อย่างรวดเร็วโดยพืชเพราะมันจะสูญเสียง่ายจากการซึมชะละลาย (Leaching)
หรือกระบวนการเปลี่ยนไนเตรทเป็นไนโตรเจน (Denitrification) โดยแบคทีเรีย
ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทที่ละลายน้ำได้ดี ให้ธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนแก่พืชสำหรับการใช้ในทุกช่วงการเจริญเติบโต
แคลเซียมเป็นธาตุอาหารที่ “มีผลต่อคุณภาพผลผลิต” เพิ่มน้ำหนัก รสชาติ สีสัน และช่วยให้ผลผลิตเก็บรักษาได้นาน
ประโยชน์ของแคลเซียม ไนเตรท
ใช้เป็นสารในการผลิตปุ๋ย และเป็นตัวทำละลายซิลิกา เจล และละลายน้ำค่อนข้างยาก
คุณสมบัติทางเคมีของแคลเซียม ไนเตรท
เป็นผงของแข็งสีขาวไม่มีกลิ่น
ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ความคงตัวทางเคมี สารนี้ไม่เสถียร เมื่อสัมผัสกับความร้อนจะทำให้สารนี้มีความร้อนเพิ่มขึ้นทำให้เกิดอันตรายได้ สารที่เข้ากันไม่ได้ สารที่สามารถติดไฟได้ สารอินทรีย์ ผงโลหะ แอมโมเนีย ไฮดราซีน สารรีดิวซ์ สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง ความร้อน เปลวไฟ แหล่งจุดติดไฟ การกระแทก และสารที่เข้ากันไม่ได้
สารเคมีอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว ออกไซด์ของไนโตรเจน
อันตรายจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ ไม่มีอันตรายเกิดขึ้น
สารนี้เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรง จะเกิดปฏิกิริยารุนแรง เมื่อสัมผัสกับสารอินทรีย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอินทรีย์ในสิ่งทอหรือกระดาษ
การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด
แคลเซียม ไนเตรท ไม่ติดไฟ แต่สารนี้เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรง
เมื่อเกิดปฏิกิริยาความร้อนกับสารรีดิวซ์ หรือสารที่ลุกติดไฟได้อาจทำให้เกิดการจุดติดไฟขึ้น
แคลเซียม ไนเตรทสามารถเกิดการระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับฝุ่นหรือไอระเหยของสารที่สามารถลุกติดไฟได้
การระเบิดอาจเกิดจากการกระแทกหรือการเสียดสี
การจัดเก็บ
เก็บในภาชนะที่ปิดแน่น
เก็บภายในที่เย็นและแห้ง และมีการระบายอากาศในพื้นที่
ป้องกันการเสียหายทางกายภาพ และความชื้น
แยกออกจากแหล่งความร้อน หรือแหล่งจุดติดไฟใดๆ
หลีกเลี่ยงการเก็บไว้บนพื้นไม้
เก็บแยกออกจากสารที่เข้ากันไม่ได้ สารที่สามารถติดไฟได้สารอินทรีย์ หรือวัสดุออกซิไดซ์ได้ง่าย
ภาชนะบรรจุของสารนี้เป็นถังเปล่า แต่มีกากสารเคมีตกค้าง เช่น ฝุ่น ของแข็ง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
สังเกตคำเตือนและข้อควรระวังทั้งหมดที่ระบุไว้สำหรับสารนี้